เทศกาลอาชูรอ หรืออาชูรอสัมพันธ์ เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ชาวมุสลิมทั่วโลกจัดขึ้น การจัดกิจกรรมอาชูรอ จะจัดตรงกับวันที่ 10 ของเดือนมูฮัรรอม อันเป็นเดือนแรกของปฏิทินอาหรับ อ่านเพิ่มเติม
วัฒนธรรมประเพณี
สังคมของมุสลิมแต่ละกลุ่มจะมีรูปแบบเฉพาะกลุ่มเช่นรูปแบบการกิน รูปแบบการอยู่ แต่ละกลุ่มของสังคมมุสลิมเองก็จะมีความแตกต่างกันไปตามสถานะ ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิงมุสลิม คล้ายกับการแต่งกายของชาวมาเลเซีย และชาวอินโดนีเซีย แต่ก็ไม่เหมือนกับสองชาติดังกล่าวเลยทีเดียว อาจจะได้รับอิทธิพลมาบ้างโดยสืบเนื่องมาจากทำเลที่ตั้งมีการติดต่อไปมาค้าขายการแต่งกายของชาวไทยมุสลิม จะมีหลายระดับ ส่วนมากเป็นการดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับโอกาสต่างๆ แต่คงลักษณะเด่นบางอย่างไว้ นั่นคือ ต้องมิดชิด อ่านเพิ่มเติม
ประวัติความเป็นมา ศฝช.ปัตตานี
ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนปัตตานี เป็นสถานศึกษาในสังกัดการบริหารราชการส่วนกลางสังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๓...อ่านเพิ่มเติ่ม
ตาลแว่น ของดีกะมิยอ เมืองปัตตานี
พื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี มีต้นตาลจำนวนไม่น้อย ส่วนใหญ่ไม่ได้ปลูก แต่เป็นตาลที่ขึ้นตามธรรมชาติ และธรรมชาติของต้นตาล จะมีอายุยืนยาวเกินร้อยปี ให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องบำรุงรักษาเหมือนพืชชนิดอื่น
ตำบลกะมิยอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ขึ้นชื่อในเรื่องของการทำตาลแว่น และ น้ำตาลเหลว ตำบลกะมิยอ มีทั้งสิ้น 7 หมู่บ้าน ในทุกหมู่บ้านมีชาวบ้านที่อาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่น เก็บน้ำตาลจากตาลโตนด นำมาแปรรูปเป็นตาลแว่น และน้ำตาลเหลว สร้างรายได้
ศึกษาเพิ่มเติม>>
ที่มา รายงานพิเศษกศน.ปัตตานี เดินตามรอยพ่อ เศรษฐกิจพอเพียง
ผู้เขียน สุจิต เมืองสุข
เผยแพร่ วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2561
เมืองงาม 3 วัฒนธรรม จังหวัดปัตตานี
ปัตตานี…หรือที่คนปัตตานีรู้จักกันในชื่อเมืองงาม 3 วัฒนธรรม คือ พุทธ มุสลิม และจีน ปัตตานีเคยเป็นหัวเมืองท่าที่สำคัญผ่านการปกครองมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยมีชาวต่างชาติเข้ามาค้าขายกับปัตตานีมากมายเช่น จีน อินเดีย อาหรับ โปรตุเกส ซึ่งล้วนนำวัฒนธรรม ศาสนา ประเพณี เข้ามาด้วยนั่นจึงทำให้คนในปัตตานีมีหลายเชื้อชาติ หลายศาสนาอยู่ร่วมกันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ปัตตานีเป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศติดทะเล มีแม่น้ำ มีผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ จึงทำให้ปัตตานีเป็นเมืองท่ามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันแม้แต่ในปัจจุบันก็เป็นเมืองท่าประมงที่สำคัญ มีแม่น้ำปัตตานีเชื่อมต่อกับทะเล จึงทำให้มีผู้คนอาศัยอยู่รอบๆทั้งริม 2 ฝั่งแม่น้ำปัตตานีจึงมีคนหลายเชื้อชาติ ต่างศาสนาเข้ามาอยู่ร่วมกัน
(ตัวอย่าง) การสู่ขวัญข้าว
การสู่ขวัญข้าวเป็นประเพณีที่ชาวนาตำบลน้ำพางนั้นปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียกขวัญพระแม่โพสพที่ตกหล่นตามท้องนาหลังจากเก็บเกี่ยวขึ้นสู่ยุ้งฉางข้าว และเป็นการบูชาพระแม่โพสพที่คอยช่วยป้องกันศัตรูพืชและสัตว์ที่จะมาทำลายข้าวในนา และนอกจากนี้นั้นยังเป็นความเชื่อของชาวนาว่าการบูชาพระแม่โพสพนั้นจะช่วยให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้นในปีต่อ ๆ ไป โดยเครื่องพิธีจะมีไก่และเครื่องสังเวยแก่พระแม่โพสพ ที่ช่วยให้ได้ทำให้ข้าวได้ผลผลิตเป็นที่พอใจ แต่ถ้าหากเป็นพิธีสู่ขวัญข้าวแบบใหญ่ โดยส่วนมากแล้วเจ้าของจะไม่ได้กล่าวคำสังเวยได้ด้วยตัวเองจึงต้องขออาจารย์ประจำหมู่บ้านเป็นผู้โอกาสให้ โดยจะทำหลังฤดูเก็บเกี่ยว ศึกษาเพิ่มเติม
(ตัวอย่าง) เนินช้างศึก
เนินช้างศึก : อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ
อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,053 เมตร เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ของฝั่งไทยและฝั่งพม่าที่สวยงามทั้งชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงาม
อ่านเพิ่มเติม...
Subscribe to:
Posts
(
Atom
)