TKP HEADLINE


วันฮารีรายอ


ฮารีรายอ เป็นวันสำคัญของชาวมุสลิมทั่วโลกวันหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นวันรื่นเริงประจำปีซึ่งชาวมุสลิมได้เดินทางกลับภูมิลำเนาของตนเอง เพื่อเข้าร่วมประกอบพิธีกรรมทางศาสนาโดยพร้อมเพรียงกัน ได้พบปะสังสรรค์กับเพื่อน ญาติพี่น้องเพื่อขออภัยซึ่งกันและกัน ช่วงเวลาในรอบ 1 ปีของชาวมุสลิม มีวันฮารีรายอ 2 ครั้ง คือ


1. อีดิลฟิตรี ตรงกับวันที่ 1 เดือนเชาวาล ตามปฏิทินอิสลาม ซึ่งเป็นวันออกบวชหลังจากได้ถือศีลอดตลอดระยะเวลา 1 เดือน นิยมเรียกวันนี้ว่า “วันออกบวช” หรือ “รายาปอซอ“ หรือ “รายาฟิตเราะห์”  ในวันอิดิลฟิตรีเป็นวันแรกของการออกจากเทศกาลถือศีลอดของชาวมุสลิม เป็นวันแห่งรางวัล และการตอบแทนสำหรับผู้ผ่านการทดสอบประจำปีในเดือนรอมมาฎอนด้วยการบังคับตัวเอง จากการลด ละ การกินดื่ม กิเลสตัณหา และได้ละหมาดตะรอวีหฺเป็นเวลาเกือบหนึ่งชั่วโมงเต็มตลอดค่ำคืนของเดือนรอมมาฎอน ในวันอิดิลฟิตรีมุสลิมทุกคนต้องตื่นแต่เช้าเพื่อทำการอาบน้ำสุนัต และไปละหมาดอิดิลฟิตรีที่มัสยิดประจำหมู่บ้าน ชาวมุสลิมนิยมใส่เสื้อผ้าของใหม่ๆ สะอาด สวยงาม มีกลิ่นหอม ทุกคนต้องปฏิบัติบริจาคซากาตฟิตเราะห์ วันอิดิลฟิตรีถือได้ว่ามุสลิมทุกคนมีความรื่นเริง สนุกสนาน เพราะในวันนี้ได้ไปเยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง ไปเคารพผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และทำความสะอาดสุสาน นำขนมไปแจกจ่ายให้กับเด็กๆ เพื่อนบ้าน เลี้ยงอาหารคนในหมู่บ้าน สำหรับอาหารที่นิยมทำในวันฮารีรายอ คือ ตูปะ (ข้าวเหนียวต้ม)



2. อีดิลอัฏฮา ตรงกับวันที่ 10 เดือน ซุลฮิจญะห หรือตรงกับเดือน 12 ของปฏิทินอิสลาม ซึ่งถัดจากวันอารอฟะฮ และเป็นวันส่งท้ายของสิบวันแรกในเดือนซูลฮิจญะ มีลักษณะคล้ายกับวันตรุษอิดิลฟิตรี แต่มีข้อแตกต่างตรงที่มีการทำกุรบาน เป็นวันเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสมุสลิมทั่วโลกได้ไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ นครเมกกะ อันเป็นวันริเริ่มประกอบพิธีฮัจญ์ ส่วนผู้ไม่ได้ไปก็ให้ไปประกอบพิธีละหมาดอิดิลอัฏฮายังมัสยิดประจำหมู่บ้าน ในวันอิดิลอัฎฮาจะมีการทำกุรบาน โดยมีการเชือดสัตว์กุรบาน ได้แก่ อูฐ วัว แพะ แล้วนำเนื้อที่เชือดแล้วมาบริจาคให้กับผู้ยากจน หรือทำอาหารเลี้ยงคนในหมู่บ้านก็ได้ และในวันนี้ผู้ไปประกอบพิธีฮัจญ์ออกฮัจญ์ และเตรียมตัวเดินทางกลับ 



การเลี้ยงไก่ไข่



การเลี้ยงไก่ไข่

แหล่งเรียนรู้ การเลี้ยงไก่ไข่ในโรงเรือน ตั้งอยู่ที่ บ้านคอลอกาลี หมู่ 8 ต.ตะโละดือรามัน อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี สามารถสร้างรายได้อีกทางหนึ่งได้เป็นอย่างดี และยังเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียน นักศึกษา หรือผู้ที่สนใจการเลี้ยงไก่ไข่ได้อีกด้วย 



น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น



วิธีทำ ‘น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น’ ใช้เอง อุปกรณ์ไม่เยอง่าย ใครก็ทำได้

      คนไทยคุ้นเคยกับการใช้น้ำมันมะพร้าวในชีวิตประจำวันมานแล้ว แต่สมัยก่อนเป็นแค่น้ำมะพร้าวจากการคั้นกะทิสดๆ แล้วนำไปเคี่ยว ความจริงมะพร้าวมีประโยชน์มากกว่านั้น หากนำมาแปรรูปด้วยวิธีการทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น สามารถนำมาทาบำรุงผิวพรรณ นำไปแปรรูปเป็นสบู่ ครทากันส้นเท้าแตกได้หลายคนนิยมใช้น้ำมันมะพร้าวเป็นตัวช่วยด้านสุขภาพ เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวสามารถบริโภคได้ มีประโยชน์ต่อระบบหล่อลื่นในลำไส้ให้ทำงานได้ดีมาก ในช่วงเช้าและก่อนนอนหากรับประทานน้ำมันมะพร้าวได้สัก 1 ช้อนชา จะช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น โมเลกุลของน้ำมันมะพร้าวค่อนข้างสั้น เมื่อเคลื่อนย้ายเข้าไปในร่างกาย จะเดินทางเร็ว ส่งผลให้เกิดการย่อยสลายได้เร็ว ไม่เหมือนไขมันที่ไม่อิ่มตัวซึ่งมีโมเลกุลยาวมาก เมื่อโมเลกุลยาวโอกาสที่คาร์บอนจับตัวจึงง่ายมาก

การแข่งขันว่าวประเพณีประจำปีตำบลบาโลย

การแข่งขันว่าวประเพณีประจำปีตำบลบาโลย     ริเริ่มจัดการแข่งขันเนื่องจากช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม ลมมรสุมตะวันออก หรือ ลมว่าวกำลังพัดพาอ่าวไทย และในจังหวัดภาคใต้ เหมาะแก่การเล่นว่าว เป็นที่นิยมในกลุ่มของกลุ่มทุกเพศทุกวัย ซึ่งเป็นการละเล่นพื้นเมืองที่ลงทุนน้อย เล่นง่าย เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ประดิษฐ์ว่าวประเภทต่างๆ ขึ้นมา ประกอบคนชาวไทย เชื้อสายมลายูซึ่งเป็นนักประดิษฐ์ ช่างคิด ช่างทำ เห็นควายอยู่ในนาที่กำลังเก็บเกี่ยวจึงได้จำลองหน้าตาของควายลงในตัวว่าว ขณะที่ว่าวลอยกลางอากาศส่วนหางจะอยู่บน ส่วนหัว เขา จมูก หู อยู่ส่วนล่าง ว่าวมีเสียงดัง อยู่ไม่นิ่ง ส่ายไปมาเหมือนนิสัยบ้าบิ่นของควาย ชาวบ้านจึงเรียกว่าวควาย เป็นสัญลักษณ์ของการเล่นว่าวในพื้นที่ชุมชนตำบลบาโลยเป็นที่นิยมของประชาชนในตำบลและพื้นที่ใกล้เคียงอย่างแพร่หลาย และเป็นการอนุรักษ์ประเพณีสืบไป



PATA IBU NUNUH ที่เที่ยวใหม่แห่งสายบุรี

ในตอนนี้เป็นช่วงที่ทุกคนอยู่ในความหวาดระแวงของโรคระบาด Covid-19 กันจึงทำให้แม้ในวันหยุดทำงานของคนส่วนมากแล้วในช่วงนี้จะกักตัวกันอยู่ที่บ้านกันตามที่รัฐบาลได้ได้ประกาศให้อยู่บ้านเพื่อชาติกัน แต่สำหรับบางคนการอยู่ที่จะอยู่บ้านทั้งวันบางครั้งก็อาจจะเบื่อไปบ้างวันนี้ผู้เขียนจะพาไปรู้จักสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ในหมู่บ้านเล็ก ๆ ของหมู่บ้านบางเก่า ตำบลบางเก่า อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานีเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของหมู่บ้านแห่งนี้ครับ พึ่งจะมีการเปิดสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้เมื่อปีที่แล้วได้ตั้งชื่อแหล่งท่องเที่ยวนี้ว่า PATA IBU NUNUH เป็นชื่อภาษามาลายูถ้าแปลเป็นภาษาไทยจะมีชื่อว่าหาดม้าน้ำนั้นเองเพราะที่หาดแห่งนี้จะมีสัญลักษณ์รูปปั้นของม้าน้ำสองตัวอยู่คู่กันจะเห็นได้ชัดมากเลยครับถ้าได้ขับรถบนถนนสายปะนาเระ-สายบุรี ที่หาดแห่งนี้ในช่วงนี้ก็จะไม่ค่อยผู้คนนอกพื้นที่มาเที่ยวกันเลยเพราะด้วยโรคระบาด Covid-19 ทำให้เป็นโอกาสของผู้เขียนที่จะได้ออกมาดูบรรยากาศที PATA IBU NUNUH แห่งนี้เป็นช่วงที่มีผู้คนน้อยมากและผู้เขียนเองก็จะอยู่ห่าง ๆ จากคนที่อยู่ที่หาดนี้ด้วยไม่ได้เข้าไปใกล้กับคนอื่นเลยครับ 



“หาดตะโละกาโปร์”

 


      “หาดตะโละกาโปร์” เป็นหาดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดปัตตานี เป็นหาดทรายขาวสะอาดขนานกับชายฝั่งทะเล มีเรือกอและของชาวประมงจอดอยู่เป็นจำนวนมาก หาดทรายแห่งนี้งอกยาวออกไปเรื่อย ๆ เพราะ เกิดจากกระแสน้ำพัดเอาตะกอนทรายมาทับถมพอกพูน เหมาะแก่การไปนั่งพักผ่อนชมความสวยงาม  มีทิวสนและต้นมะพร้าวให้ความร่มรื่นสวยงาม



การทำปลาส้ม


การแปรรูปอาหารจากปลาเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการถนอมอาหารจากปลา เมื่อปลาที่หามาได้มีจำนวนมากก็ ต้องหาวิธีการแปรรูป เพื่อจะได้เก็บไว้กินนานๆ โดยเอาปลา มาหมักกับเกลือ และข้าวสวย ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจะได้เมนูอร่อยๆ ที่เรารู้จักและเรียกกันว่า ปลาส้ม ปลาเปรี้ยว ส้มปลา นั่นเอง!

ส่วนผสมการปลาส้ม

1.ปลานิล จำนวน 13 กิโลกรัม 

2.ข้าวสารคั่วบดละเอียด จำนวน 3 กิโลกรัม

 3.เกลือเม็ด จำนวน 3 กิโลกรัม


วิธีทำ

1.นำปลามาขอดเกล็ด ควักไส้ออกให้หมด ล้างให้สะอาด เอาหัว เอาพุงออก 2.แบ่งปลาออกเป็น 2 ซีกและล้างน้ำทำความสะอาดอีกครั้ง 3.นำปลาใส่ภาชนะที่จะหมักปลาและโรยเกลือเป็นชั้นๆใสเกลือตามความเหมาะสม 4.นำข้าวสารมาคั่วให้ออกเป็นสีเหลือง 5.นำปลามาล้างเศษเกลือที่หมัก แล้วนำมาคลุกเคล้าให้เข้ากับข้าวสารคั่วให้เข้ากัน 6.นำมาหมักที่มิดชิดอีก 15 วัน อุณหภมิที่เหมาะสม แล้วสามารถนำมาทำอาหารที่ต้องการ

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดปัตตานี. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand